หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดอยอ่างขาง (Doi Angkhang)




Doi Angkhang ดอยอ่างขาง

         Doi Ang Khang is located 163 kilometers from Chaing Mai’s city and it takes about 3 hours by driving. The highest peak is 1300 meters above sea level and it makes a cool weather all year-round.
Sometimes refers to “Little Switzerland” of Thailand, Doi Ang Khang is one of the coldest place in Thailand. There you will enjoy breathtaking scenery, fresh air climate, and a peace and calm countryside. During the winter, in December to January, the temperature sometimes drops to zero or below.
Situated in Doi Ang Khang, The Royal Agricultural Station Ang Khang is the first research station for temperate climate fruit, vegetables, flowers and trees. The project has had great success using organic methods to plant non-tropical fruits and vegetables such as peaches, strawberries, raspberries, plums, beans and asparagus.
Along the route to Doi Ang Khang, hill tribe villages such as Ban Luang, Ban Khum, An Pang Ma, Nor Lae, Kob Dong and Ban Nong Mai Bua can be visited while driving on the mountain’s slopes. These villages feature an old-fashioned Yunnanese atmosphere. You can see the villagers’ daily life and buy their handicrafts.
Other recommended attractions are flower gardens and Bonzai garden. At Bonzai garden, you can see a large collection of Bonsai plants from several regions. At the flower gardens, you will enjoy stunning scenery and burgeoning plant life.

ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเขตแดนไทยพม่าเพียง 5 กิโลเมตร การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
อ่างขาง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างสี่เหลี่ยม ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร ทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย
ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า "ดอยคำ" และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ



สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่

สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่าง
ประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม


หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า


หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย



หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่



เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย -พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า


เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

ขี่ล่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังล่อ (การนั่งบนหลังล่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

จุดชมวิว-จุดกิ่วลม เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย




ที่พักและร้านอาหาร

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง ดังนี้

• ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน
• กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
• มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง

หมายเหตุ : กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9



 การเดินทางสู่ดอยอ่างขางสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง

• เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ

• เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ถึงกิโลเมตร 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร

หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,000 - 1,500 บาท









วันที่ดอกไม้บานบนดอยอ่างขาง/วินิจ รังผึ้ง




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น