หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วนอุทยานภูชี้ฟ้า (Phu Cheefa Forest Park)



Phu Cheefa Forest Park  วนอุทยานภูชี้ฟ้า

     Phu Cheefa is the highest mountain peak in the mountains of Doi Pha Mon.Next to Thai border – Lao People's Democratic Republic.In thoeng district, Chiang Rai province Located in the national forest.It has a natural Cliff at the end of a long horizontal spires pointing to the sky across Laos,It is the origin of the name is called "Phu Cheefa forest park"sure enough.The Lao People's Democratic Republic that is considered the most beautiful view points.The Forest Department has ordered the establishment of "PhuCheefa" is a national park on February 6, 2541, with an area of ​​approximately 2,500 Rai of sea level from 1,200 meters to 1,628 meters.For highlights of the Phu Cheefa forest park Sea point, fog and beautiful sunrise.All of the complex mountain view far wide.In the morning mist covered valley below. Sunrise through the mist. Surrounded by meadows Sam trembled with Flower (In the rainy season to winter), beautiful as a painting.



ภูชี้ฟ้า เป็นยอดเขาสูงที่สุดในเทือกเขาดอยผาหม่น ติดชายแดนไทย – สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในพื้นที่เขตอำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติด้วยลักษณะหน้าผาปลายยอดแหลม เป็นแนวยาวที่ชี้ไปบนฟ้า ทางฝั่งประเทศลาว จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกว่า “ภูชี้ฟ้า” นั่นเอง ด้านที่ติดสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว นับเป็นจุดชมวิวที่สวยที่สุด ทั้งนี้ กรมป่าไม้ได้มีคำสั่งให้จัดตั้ง “ภูชี้ฟ้า” เป็นวนอุทยาน เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2541 ด้วยเนื้อที่ประมาณ 2,500ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเลตั้งแต่ 1,200 เมตร ถึง 1,628 เมตร 

ภูมิอากาศบนภูเขา จะค่อนข้างเย็นแต่ฤดูกาลจะเป็นแบบมรสุมเมืองร้อน โดยได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ในช่วงฤดูฝน และลมตะวันออกเฉียงเหนือในช่วงฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม และฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์


"ภูชี้ฟ้า" เป็นดอยเดียวที่ชื่อว่า "ภู" ทั้งที่ตามจริงแล้วจะต้องชื่อว่า "ดอยชี้ฟ้า" ตามคำเรียกของทางเหนือ แต่ว่า ภูชี้ฟ้า เป็นชื่อที่คนต่างถิ่นไปตั้งชื่อ จึงเรียกว่า "ภู" ในสมัยก่อนพื้นที่ของ ภูชี้ฟ้า เป็นแดนผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ มีการต่อสู้ทางอาวุธและแนวความคิดที่รุนแรงแห่งหนึ่งของประเทศไทย ครั้นเมื่อลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลายไป เริ่มมีผู้คนเดินทางมาชมธรรมชาติที่นี่ และแล้วชื่อเสียงของภูชี้ฟ้าก็ขจรไปอย่างรวดเร็ว

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ
- ผู้ใหญ่ คนละ 20-80 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
เด็ก คนละ 10-40 บาท (ขึ้นอยู่กับอุทยานฯ)
- กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 
- กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก 

การเดินทาง

ทางรถยนต์
ภูชี้ฟ้าอยู่ห่างจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ประมาณ 144 กิโลเมตร การเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย ไปยังภูชี้ฟ้าได้ตามแนวเส้นทางดังนี้

1. การเดินทางจากจังหวัดเชียงรายระยะทางประมาณ 108 กิโลเมตร โดยใช้เส้นทางเชียงราย - เทิง ระยะทาง 64 กิโลเมตร และจากเทิง - ปางค่า ระยะทาง 24 กิโลเมตร จากนั้นเป็นลูกรังถึงภูชี้ฟ้าระยะทาง 19 กิโลเมตร

2. ใช้เส้นทาง 1021 เทิง - เชียงคำ ระยะทาง 27 กิโลเมตร ก่อนถึงเชียงคำ 6 กิโลเมตร มีทางแยกไปวนอุทยานน้ำตกภูซาง (1093) บ้านฮวก อีก 19 กิโลเมตร แล้วเดินทางไปภูชี้ฟ้าอีก 30 กิโลเมตร แล้วเดินทางเท้าต่ออีก 1 กิโลเมตร จึงจะถึงจุดชมวิว ทางเดินเท้ามีความสูงชันมาก 

รถโดยสารประจำทาง
จากสถานีขนส่งเชียงราย มีรถโดยสารไปยังภูชี้ฟ้าและดอยผาตั้ง รถออกเวลา 12.30น.รายละเอียดติดต่อ บ.สหกิจ โทร 0-5371-1654


สอบถามรายละเอียด-ข้อมูลการเดินทาง

วนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม ต้องนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง ทั้งนี้ ต้องไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่หัวหน้าวนอุทยานภูชี้ฟ้าโดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย โทร. (053) -714914 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-25614292 -3 ต่อ 719

บ้านพัก-บริการ 

 วนอุทยานภูชี้ฟ้า ไม่มีบ้านพักหรือค่ายพักแรมบริการแก่นักท่องเที่ยว หากนักท่องเที่ยวมีความประสงค์จะไปพักแรม โปรดนำเต็นท์ไปกางเอง โดยทางวนอุทยานได้จัดสถานที่ไว้ให้พร้อมกับห้องสุขา ส่วนเรื่องอาหารต้องจัดเตรียมไปเอง แล้วไปติดต่อขออนุญาตใช้สถานที่กับเจ้าหน้าที่ที่หัวหน้าวนอุทยานภูชี้ฟ้าโดยตรง รายละเอียดสอบถามได้ที่สำนักบริหารจัดการในพื้นที่อนุรักษ์ที่ 15 จังหวัดเชียงราย โทร. (053) -714914 หรือฝ่ายจัดการวนอุทยาน สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10900 โทร. 0-25614292 -3 ต่อ 719


  

วันศุกร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ดอยอ่างขาง (Doi Angkhang)




Doi Angkhang ดอยอ่างขาง

         Doi Ang Khang is located 163 kilometers from Chaing Mai’s city and it takes about 3 hours by driving. The highest peak is 1300 meters above sea level and it makes a cool weather all year-round.
Sometimes refers to “Little Switzerland” of Thailand, Doi Ang Khang is one of the coldest place in Thailand. There you will enjoy breathtaking scenery, fresh air climate, and a peace and calm countryside. During the winter, in December to January, the temperature sometimes drops to zero or below.
Situated in Doi Ang Khang, The Royal Agricultural Station Ang Khang is the first research station for temperate climate fruit, vegetables, flowers and trees. The project has had great success using organic methods to plant non-tropical fruits and vegetables such as peaches, strawberries, raspberries, plums, beans and asparagus.
Along the route to Doi Ang Khang, hill tribe villages such as Ban Luang, Ban Khum, An Pang Ma, Nor Lae, Kob Dong and Ban Nong Mai Bua can be visited while driving on the mountain’s slopes. These villages feature an old-fashioned Yunnanese atmosphere. You can see the villagers’ daily life and buy their handicrafts.
Other recommended attractions are flower gardens and Bonzai garden. At Bonzai garden, you can see a large collection of Bonsai plants from several regions. At the flower gardens, you will enjoy stunning scenery and burgeoning plant life.

ดอยอ่างขาง ตั้งอยู่ที่ตำบลอ่างขาง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากเขตแดนไทยพม่าเพียง 5 กิโลเมตร การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ประมาณกิโลเมตรที่ 137 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าบ้านยางที่ตลาดแม่ข่า เข้าไปอีกประมาณ 25 กิโลเมตร เป็นทางลาดยาง สูงและคดเคี้ยว ต้องใช้รถสภาพดีและมีกำลังสูง คนขับชำนาญ หรือจะหาเช่ารถสองแถวได้ที่ตลาดแม่ข่า
อ่างขาง เป็นภาษาเหนือ หมายถึง อ่างสี่เหลี่ยม ซึ่งได้ชื่อมาจากลักษณะพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ ล้อมรอบด้วยภูเขาสูง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400 เมตร ทำให้อากาศบนดอยหนาวเย็นตลอดปีโดยเฉพาะในช่วงเดือนธันวาคม-มกราคม อากาศเย็นจนน้ำค้างกลายเป็นน้ำค้างแข็ง นักท่องเที่ยวจึงควรเตรียมเครื่องกันหนาวมาให้พร้อม เช่น หมวก ถุงมือ ถุงเท้า เสื้อกันหนาว

สถานีเกษตรหลวงอ่างขาง เป็นสถานีวิจัยแห่งแรกของโครงการหลวง เรื่องกำเนิดของสถานีฯ แห่งนี้เป็นเกร็ดประวัติเล่ากันต่อมาว่าครั้งหนึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชเสด็จทางเฮลิคอปเตอร์ผ่านยอดดอยแห่งนี้และทอดพระเนตรลงมาเห็นหลังคาบ้านคนอยู่กันเป็นหมู่บ้าน จึงมีพระดำรัสสั่งให้เครื่องลงจอด เมื่อเสด็จพระราชดำเนินลงมาทอดพระเนตรเห็นทุ่งดอกฝิ่น และหมู่บ้านตรงนั้นก็คือหมู่บ้านของชาวเขาเผ่ามูเซอซึ่งในสมัยนั้นยังไว้แกละถักเปียยาว แต่งกายสีดำ สะพายดาบ พระองค์มีพระราชดำรัสที่จะแปลงทุ่งฝิ่นให้เป็นแปลงเกษตร สถานีฯ จึงเกิดขึ้นเมื่อพ.ศ. 2512มีโครงการวิจัยผลไม้ ไม้ดอกเมืองหนาว งานสาธิตพืชไร่ พืชน้ำมัน โดยมุ่งที่จะหาผลิตผลที่มีคุณค่าพอที่จะทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวเขา และทำการส่งเสริมพัฒนาอาชีพเกษตรกรรมแก่ชาวเขาในบริเวณใกล้เคียง
พรรณไม้ที่ปลูก
- ไม้ผล เช่น บ๊วย ท้อ พลัม แอปเปิล สาลี่ พลับ กีวี องุ่น ราสป์เบอร์รี กาแฟพันธุ์อาราบิกา นัตพันธุ์ต่างๆ
- ไม้ดอก เช่น แกลดิโอลัส เยอบีราพันธุ์ยุโรป สแตติส ยิบโซฟิลลา คาร์เนชั่น อัลสโตรมีเรีย ลิลี ไอริส แดฟโฟดิล
- ผัก เช่น ซูกินี เบบีแครอต กระเทียมต้น หอมญี่ปุ่น ผักกาดฝรั่ง แรดิช เฟนเนล มันฝรั่ง ถั่วแดงหลวง และถั่วพันธุ์อื่นๆ
ในพื้นที่ดอยอ่างขางยังมีการฟื้นฟูสภาพป่าโดยตรง ด้วยการปลูกป่าด้วยพรรณไม้หลายชนิด ละการทิ้งพื้นที่แนวป่าให้พรณไม้เกิดและเติบโตเองโดยธรรมชาติ มีทั้งพรรณไม้ท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ ไม้ก่อ แอปเปิลป่า นางพญาเสือโคร่ง หรือซากุระ และพรรณไม้โตเร็วจากไต้หวัน 5 ชนิด คือ กระถินดอย เมเปิลหอม การบูร จันทน์ทอง และเพาโลเนีย
ที่สถานีฯ ยังเป็นแหล่งเที่ยวชมวัฒนธรรมประเพณีพื้นบ้านชาวไทยภูเขาต่างๆ ได้แก่ เผ่ามูเซอดำ ปะหล่อง และจีนฮ่อ รวมทั้งชมความงามตามธรรมชาติของผืนป่า กิจกรรมดูนกซึ่งมีนกทังนกประจำถิ่นและนกหายากต่างถิ่น พร้อมผลิตภัณฑ์จากงานวิจัย งานส่งเสริมเกษตรกรจำหน่ายใต้ตราสินค้า "ดอยคำ" และที่พักทั้งในรูปแบบรีสอร์ท บ้านพักแบบกระท่อมและลานกางเต็นท์พร้อมอาหารและเครื่องดื่มบริการ



สถานที่น่าสนใจบนดอยมีหลายแห่ง ได้แก่

สวนบอนไซ อยู่ในบริเวณสถานีฯ เป็นแหล่งรวบรวมพันธุ์ไม้เขตอบอุ่นและเขตหนาวทั้งในและต่าง
ประเทศ ปลูก ดัด แต่ง โดยใช้เทคนิคบอนไซ สวยงามน่าชม และในบริเวณเดียวกันยังมีสวนสมุนไพร ฤดูท่องเที่ยวอยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน-มกราคม


หมู่บ้านคุ้ม ตั้งอยู่ใกล้กับสถานีฯ เป็นชุมชนเล็ก ๆประกอบด้วยผู้อยู่อาศัยหลายเชื้อชาติอยู่รวมกัน อาทิชาวไทยใหญ่ ชาวพม่าและชาวจีนฮ่อ ซึ่งได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้และเปิดร้านค้าบริการแก่นักท่องเที่ยว
จุดชมวิวกิ่วลม อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยกซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมทะเลหมอกและวิวพระอาทิตย์ทั้งขึ้นและตก มองเห็นทิวเขารอบด้านและหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย
หมู่บ้านนอแล ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย-พม่า คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมา มีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติบริเวณพรมแดนไทย-พม่า


หมู่บ้านขอบด้ง เป็นที่ที่ชาวเขาเผ่ามูเซอดำและเผ่ามูเซอแดงอาศัยอยู่ร่วมกัน คนที่นี่นับถือผี มีวัฒนธรรมและความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย หมู่บ้านแห่งนี้ได้รับการส่งเสริมจากโครงการหลวงในด้านการเกษตรและด้านหัตถกรรมพื้นบ้าน (เช่น อาบูแค เป็นกำไลถักด้วยหญ้าไข่เหามีสีสันและลวดลายในแบบของมูเซอ) บริเวณหน้าหมู่บ้านจะมีการจำลองบ้านและวิถีชีวิตของชาวมูเซอ โดยชาวบ้าน ครู และนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งช่วยกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้ที่สนใจได้มีโอกาสเรียนรู้และศึกษาวัฒนธรรมของหมู่บ้านโดยที่ไม่เข้าไปรบกวนความเป็นส่วนตัวของเขามากเกินไป และยังมีโครงการมัคคุเทศก์น้อยที่อบรมเด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านขอบด้งเพื่อช่วยอธิบายวิถีชีวิตของพวกเขาให้ผู้มาเยือน ทั้งนี้เพื่อเป็นการปลูกจิตสำนึกและสร้างความรักในท้องถิ่นให้เด็ก ๆ ด้วย



หมู่บ้านหลวง ชาวหมู่บ้านหลวงเป็นชาวจีนยูนานที่อพยพมาจากประเทศจีนในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 และประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก อาทิ ปลูกผักผลไม้ เช่น พลัม ลูกท้อ และสาลี่



เยี่ยมหมู่บ้านนอแล สัมผัสวิถีชีวิตชาวปะหล่อง อดีตชนเผ่าดั้งเดิมของพม่า มีผลิตภัณฑ์หัตถกรรมของกลุ่มแม่บ้าน จำหน่ายและเยี่ยมฐานปฏิบัติการนอแล ชมชายแดนไทย-พม่า ตั้งอยู่บริเวณชายแดนไทย -พม่า แต่เดิมคนกลุ่มนี้อยู่ในพม่าและพึ่งอพยพมาที่นี่ได้ประมาณ 15 ปี คนที่นี่เป็นชาวเขาเผ่าปะหล่องเชื้อสายพม่า ซึ่งมีภาษาและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง นับถือศาสนาพุทธ ทุกวันพระผู้คนที่นี่หยุดอยู่บ้านถือศีล จากหมู่บ้านนี้สามารถมองเห็นทิวทัศน์สวยงามของธรรมชาติ บริเวณพรมแดนไทย-พม่า


เดินป่าศึกษาธรรมชาติระยะสั้น ประมาณ 2 กิโลเมตร จะได้ชมความงามธรรมชาติของผืนป่าปลูกทดแทน น้ำตกเล็กๆ และกุหลาบพันปี

ขี่จักรยานเสือภูเขาชมธรรมชาติ จากบ้านคุ้มไปยังบ้านนอแล และจากบ้านหลวงไปยังบ้านผาแดง

ขี่ล่อล่องไพร ชมความงดงามของธรรมชาติ ในบรรยากาศเย็นสบายรอบ ๆ ดอยอ่างขาง ด้วยการนั่งบนหลังล่อ (การนั่งบนหลังล่อต้องนั่งหันข้าง เนื่องจากอานกว้างไม่สามารถนั่งคร่อมอย่างการขี่ม้าได้) หากสนใจกิจกรรมนี้ต้องติดต่อกับรีสอร์ทล่วงหน้าอย่าน้อย 1 วัน เพราะปกติชาวบ้านจะนำฬ่อไปเป็นพาหนะขนผลิตผลทางการเกษตรด้วย

จุดชมวิว-จุดกิ่วลม เป็นลานชมพระอาทิตย์ขึ้น-ตกดิน และสัมผัสทัศนียภาพของถนนทางขึ้น ดอยอ่างขาง อยู่ทางด้านซ้ายมือก่อนถึงทางแยก ซึ่งจะไปหมู่บ้านปะหล่องนอแลทางหนึ่ง และบ้านมูเซอขอบด้งทางหนึ่ง สามารถชมวิวได้ทั้งพระอาทิตย์ขึ้นและตก หรือทะเลหมอก มองเห็นทิวเขารอบด้าน และหากฟ้าเปิดจะมองเห็นสถานีเกษตรหลวงอ่างขางด้วย




ที่พักและร้านอาหาร

สถานีเกษตรหลวงอ่างขางมีบ้านพักรับรองภายในศูนย์ฯ จำนวน 18 หลัง ดังนี้

• ขนาดพัก 2 คน ราคา 1,000 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 6 คน ราคา 1,200 บาท/หลัง/คืน
• ขนาดพัก 40 คน ราคา 150 บาท/คน/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 2-3 คน ราคา 150 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอนราคา 300 บาท/หลัง/คืน
• เต็นท์บริการ ขนาด 4-5 คน ราคา 300 บาท/หลัง/คืน หากรวมถุงนอน ราคา 500 บาท/หลัง/คืน
• กรณีนำเต็นท์มาเองคิดค่าบริการพื้นที่คนละ 20 บาท
• มีร้านอาหารและเครื่องดื่มภายในสโมสรอ่างขาง

หมายเหตุ : กรุณาสำรองที่พักล่วงหน้าก่อนเดินทางอย่างน้อย 1 เดือน โทร. 0-5345-0107-9



 การเดินทางสู่ดอยอ่างขางสามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง

• เส้นทางที่ 1 จากตัวเมืองเชียงใหม่ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง เลี้ยวซ้ายทางแยกตำบลเมืองงาย ตรงเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 1178 ผ่านบ้านอรุโณทัยไปยังศูนย์ฯ

• เส้นทางที่ 2 จากตัวเมืองเชียงใหม่ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ถึงกิโลเมตร 137 แยกบ้านปางควาย เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1249 ตรงไปประมาณ 25 กิโลเมตร

หมายเหตุ : ใช้รถยนต์ได้ทุกประเภท (ควรเช็คสภาพเครื่องยนต์ก่อนขึ้นเขา และผู้ขับขี่ควรมีประสบการณ์ เพราะเส้นทางมีความชันมาก) หรือใช้บริการรถยนต์รับจ้าง จุดจอด ณ ปากทางขึ้นดอยอ่างขาง ราคาเหมา 1,000 - 1,500 บาท









วันที่ดอกไม้บานบนดอยอ่างขาง/วินิจ รังผึ้ง




อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon National Park)




ดอยอินทนนท์ (Doi Inthanon National Park)


           At 8,415 feet above sea level Doi Inthanon is Thailand's highest mountain. It is a premium site for scenery and offers visitors forests, bird life and waterfalls. During the winter season the summit of Doi Inthanon is usually cool and dry, but over recent years temperatures have fallen lower and lower. You can now on very rare occasions experience temperatures below freezing point.
The area is renowned for mist when temperatures decline and images of the mountain’s hazy beauty have become somewhat iconic. Two large pagodas built for the current King and Queen of Thailand are situated on the mountain’s summit.
Doi Inthanon Forest has been established as a National Park. A trip to the mountain is often combined with a trip to Mae Klang, Wachiratan and Siriphum Waterfalls. With over 400 varieties of birds it is also a key destination for bird watching.

ประวัติความเป็นมา

ดอยอินทนนท์ อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เชียงใหม่ ประกาศเป็นอุทยานฯ เมื่อพ.ศ.2515 ประกาศเป็นอุทยานฯ เป็นลำดับที่ 6 ของประเทศไทย มีพื้นที่ 482.4 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่ในเขตอำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่ ดอยอินทนนท์แต่เดิมดอยนี้มีชื่อว่า "ดอยหลวง" หรือ "ดอยอ่างกา"ดอยหลวง มาจากขนาดของดอยที่ใหญ่มาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "ดอยหลวง" (หลวง: เป็นภาษาเหนือ แปลว่า ใหญ่)
ดอยอินทนนท์ อดีตกาลก่อนป่าไม้ทางภาคเหนืออยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ (องค์สุดท้าย) พระองค์ให้ความสำคัญกับป่าไม้อย่างมาก โดยเฉพาะป่าในบริเวณดอยหลวง ทรงรับสั่งว่า หากสิ้นพระชนม์ลงให้นำอัฐิบางส่วนขึ้นไปสร้างสถูปบรรจุไว้บนดอย ดอยนี้จึงมีนามเรียกขานว่า "ดอยอินทนนท์" แต่มีข้อมูล บางกระแสกล่าวว่า ที่ดอยหลวงเรียกว่า ดอยอินทนนท์ นั้น เป็นเพราะเนื่องจากว่าเป็นการให้เกียรติ เจ้าผู้ครองนคร จึงตั้งชื่อจากคำว่า "ดอยหลวง" ซึ่งเป็นชื่อที่มีความซ้ำกับดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว แต่ภายหลังมีชาวเยอรมัน มาทำการสำรวจและวัด ซึ่งปรากฎผลว่า ดอยหลวง หรือดอยอ่างกา ที่อำเภอแม่แจ่มมีความสูงกว่า ดอยหลวง ของอำเภอเชียงดาว จึงเปลี่ยนชื่อใหม่ เพื่อไม่ให้มีความซ้ำซ้อนกัน และเรียกดอยแห่งนี้ว่า "ดอยอินทนนท์"
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของ "ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์" ต่อมาได้ถูกสำรวจและจัดตั้งเป็นหนึ่งในสิบสี่ ป่าที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งครั้งแรกกรมป่าไม้เสนอ ให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำหนดพื้นที่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ให้มี พื้นที่ 1,000 ตร.กม. หรือประมาณ 625,000 ไร่ แต่เนื่องจากพื้นที่ชุมชนต่าง ๆ อาศัยอยู่ก่อนหลายชุมชน จึงทำการสำรวจใหม่ และกันพื้นที่ที่ราษฎร อยู่มาก่อน และคาดว่าจะมีปัญหาในอนาคตออก จึงเหลือพื้นที่ที่จะประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ 270 ตร.กม. หรือประมาณ 168,750 ไร่ ประกาศลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 และในวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รัฐบาลประกาศพื้นที่เพิ่มอีกเป็น 482.4 ตร.กม. อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ มีความสูงจากระดับน้ำทะลปานกลาง 400-2,565.3341 เมตร เป็นภูเขาที่สูงที่สุดในประเทศไทยสำหรับวัตถุประสงค์ในการกำหนดที่ดินให้ เป็นอุทยานแห่งชาติ ตาม พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 หมวด 1 มาตรา 6

การเดินทาง
จากตัวเมืองเชียงใหม่ สามารถ เดินทางไปยังอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ได้ 3 เส้นทางคือ

เส้นทางที่ 1 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางโดยใช้เส้นทางถนนสายเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอ หางดงและอำเภอสันป่าตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามถนนสายจอมทอง- อินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และ ตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กม.

เส้นทางที่ 2 จากจังหวัดเชียงใหม่เดินทางตามเส้นทางถนนสานเชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง อำเภอสันป่าตอง อำเภอจอมทองและอำเภอฮอด จากอำเภอฮอดเดินทางต่อโดยใช้เส้นทางสายฮอด-แม่สะเรียง ฮอด (ทางหลวง แผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอุทยานแห่งชาติออบหลวง แล้วเลี้ยวขวาต่อไปยังอำเภอแม่แจ่มโดยเส้นทางสาย ออบหลวง-แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1088) จากอำเภอแม่แจ่มใช้เส้นทางสายแม่แจ่ม-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) ขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์ ที่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 กิโลเมตรที่ 38-39) 

เส้นทางที่ 3 ซึ่งเป็นเส้นทางสู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่ค่อนข้างจะลำบาก โดยทางจากจังหวัดเชียงใหม่ตามเส้นทางถนนสาย เชียงใหม่-ฮอด (ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108) ผ่านอำเภอหางดง และอำเภอสันป่าตอง จากอำเภอสันป่าตอง เลี้ยวขวา ตามถนน สายสันป่าตอง - บ้านกาด-แม่วิน (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1013) แล้วต่อด้วยเส้นทาง ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1284 หรือ เส้นทาง ร.พ.ช. ผ่านบ้านขุนวาง และขึ้นสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ที่กิโลเมตรที่ 31 ใกล้ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ

พื้นที่ท่องเที่ยวและนันทนาการที่สำคัญของอุทยานแห่งชาติ ส่วนใหญ่จะอยู่ตามแนวเส้นทางถนนสายจอมทอง – ยอดดอยอินทนนท์ (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009) ถนนสายยอดดอยอินทนนท์ – แม่แจ่ม (ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1192) 

ค่าธรรมเนียมการเข้าอุทยานแห่งชาติ

- ผู้ใหญ่ คนละ 20 บาท 
- เด็ก คนละ 10 บาท 
- กรณีเป็นเด็กอายุต้องต่ำกว่า 14 ปี แต่ถ้าอายุต่ำกว่า 3 ปี จะไม่เรียกเก็บค่าธรรมเนียม 
- กรณีเป็นนักเรียน นิสิต นักศึกษา ให้เก็บค่าธรรมเนียมในอัตราสำหรับเด็ก 

- รถจักรยาน 10 บาท/คัน 
- รถจักรยานยนต์ 20 บาท/คัน 
- รถยนต์ 4 ล้อ 30 บาท/คัน 
- รถยนต์ 6 ล้อ 100 บาท/คัน 
- รถยนต์ไม่เกิน 10 ล้อ 200 บาท/คัน  

“ดอยอินทนนท์” สูงเสียดฟ้า สวยน่าทึ่ง...กึ่งมหัศจรรย์


ฤดูกาลท่องเที่ยว

ไม่ว่าจะเป็นช่วงฤดูร้อน เดือน มีนาคม – พฤษภาคม แม้อากาศจะร้อนอบอ้าว แต่บนดอยยังมีอากาศสดชื่นเย็นสบาย ท้องฟ้าสดใส ฤดูฝนเดือน มิถุนายน – กันยายน ฝนตกชุกเพิ่มความชุ่มชื้นให้ป่า ชมสายหมอกและละอองฝน ที่เพิ่มความสวยงามผสมกลมกลืนกันอย่างน่าอัศจรรย์

ฤดูหนาวเดือน ตุลาคม – กุมภาพันธ์ อากาศค่อนข้างหนาวและฝนเริ่มลดน้อยลงและอากาศเย็นลงบ้าง และมีอากาศหนาวจัดที่สุดในช่วงเดือนมกราคม เป็นฤดูกาลที่นักท่องเที่ยวนิยมเที่ยวมากที่สุด เพราะสภาพภูมิอากาศหนาวเย็นท้องฟ้าแจ่มใส ตัดกับสีเขียวของป่าไม้ อากาศจะเย็นมากในตอนกลางคืน อุณหภูมิจะลดต่ำกว่า 0 - 4 องศาเซลเซียส ซึ่งช่วงนี้แหละที่เราจะได้เห็นน้ำค้างแข็งหรือแม่คะนิ้ง





บริการที่พัก มีทั้งบ้านพัก เต้นท์สนามคู่ และสถานที่กางเต้นท์ไว้บริการนักท่องเที่ยว ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ กม. ที่ 31 อำเภอจอมทอง จ.เชียงใหม่ 50160 โทร. (053) 268550 หรือติดต่อที่สำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900 โทร. (02) 57954852, 5795269 หรือคลิกเข้ามาหาข้อมูลละเอียดได้ที่ www.doiinthanon.com





“ดอยอินทนนท์” สูงเสียดฟ้า สวยน่าทึ่ง...กึ่งมหัศจรรย์



วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2556

วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล (Kaeo Komon Cave)


วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล

(Kaeo Komon Cave)



      วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล เดิมเรียกชื่อถ้ำผลึกแคลไซต์แม่ลาน้อย ตั้งอยู่บริเวณเขาดอยถ้ำ หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะไฟ ต.แม่ลาน้อย อ.แม่ลาน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ในเขตประทานบัตรเหมืองแร่ฟลูออไรต์ ของห้างหุ้นส่วนจำกัด พี. วี ซัพพรายส์ (ไทยแลนด์) อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ยวมฝั่งซ้าย แผนที่ระวาง มาตราส่วน 1 : 50,000 ชุด L 7071 ระวาง 4545 – 3 พิกัด 391620341
ถ้ำแก้วโกมล ได้ถูกค้นพบโดยวิศวกรเหมืองแร่ ประจำสำนักงานทรัพยากรธรณี จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2536 สภาพภายในถ้ำเต็มไปด้วยผลึกแคลไซต์ (Calcite) รอบด้านทั้งบริเวณผนัง พื้น และเพดานของถ้ำ ผลึกมีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันมากมายหลายแบบจับตัวกันมองดูคล้ายปะการัง ดอกกระหล่ำ เกล็ดน้ำแข็ง ดอกเข็ม และโคมไฟเพดาน มีสีขาวใส เหลือง แดง และน้ำตาล มีความสวยงามมากตามธรรมชาติ มีคุณค่าและความสำคัญ ต่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยในปี พ.ศ.2538 กรมทรัพยากรธรณี ได้ทำการพัฒนาด้านความสะดวกและความปลอดภัยในการเข้าเที่ยวชมถ้ำ ได้ดำเนินการกันเขตพื้นที่บริเวณรอบถ้ำในเขตรัศมี 200 เมตร ครอบคลุมเนื้อที่ 51 ไร่ 1 งาน 04 ตารางวา ออกจากพื้นที่ประทานบัตร โดยอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 9 ตรี แห่ง พ.ร.บ เหมืองแร่ พ.ศ.2510 ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2540 ให้พื้นที่กลับไปมีสภาพเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ภายใต้การกำกับดูแลของกรมป่าไม้ โดยจัดตั้งเป็นวนอุทยานแม่ลาน้อย ตามความในมาตรา 19 แห่ง พ.ร.บ ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ.2507ในปี พ.ศ.2543 ได้มีการส่งมอบและรับมอบถ้ำผลึกแคลไซต์แม่ลาน้อยระหว่างกรมทรัพยากรธรณี กับกรมป่าไม้โดยผู้ว่าราชการจังแม่ฮ่องสอน เป็นผู้รับมอบ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2543 ณ วนอุทยานถ้ำแม่ลาน้อยลักษณะเด่นของถ้ำแก้วโกมล คือเป็นโพรงลึกลงไปในแนวดิ่งถึง 30 เมตร มีทางเดินและทางออกทางเดียวประมาณ 120 เมตร กล่าวกันว่าถ้ำแก้วโกมลแห่งนี้เป็นถ้ำผลึกแคลไซด์ที่สวยงามที่สุดในประเทศไทย และพบเป็นแหล่งที่ 2 ในทวีปเอเชีย โดยแห่งแรกอยู่ที่ประเทศจีนการเกิดผลึกแคลไซด์ หรือแคลเซียมคาร์บอเนต เกิดจากกระบวนการกลั่นตัวตกผลึก (Crystallizaton) ของไอน้ำร้อนที่ละลายสารแคลเซียมในถ้ำจนอิ่มตัวแล้วเกิดเป็นผลึกจับตามผนังถ้ำ ชื่อว่าถ้ำแก้วโกมลเดิมเป็นทางน้ำร้อนใต้ดิน เมื่อกระแสน้ำร้อนละลายสารแคลเซียมที่ฟุ้งกระจายอยู่ในโพรงถ้ำภายใต้อุณภูมิที่เหมาะสมจึงเกิดเป้นผลึกแร่บริสุทธ์และอ่อนนุ่มราวหิมะ ซึ่งพบเห็นได้ยากมาก ภายในถ้ำแก้วแบ่งออกเป็นโถงถ้ำทั้งหมด 5 ห้อง เมื่อผ่านทางเข้าปากถ้ำ คุณสามารถเดินชมถ้ำแก้วไปตามทางเดินที่เชื่อมถึงกันตลอด โถงถ้ำที่น่าสนใจได้แก่ห้องที่ 4 ซึ่งมีผลึกแคลไซด์ บริสุทธิ์ที่มีรูปร่างคล้ายปะการัง ผลึกรูปเข็มและเกร็ดน้ำแข็ง และห้องที่ 5 ซึ่งเป็นห้องที่อูยู่ลึกที่สุดมีความสวยงามมากที่สุด มีผลึกแคลไซด์ที่สมบูรณ์มากตามพื้นและผนัง ทั้งผลึกรูปเข็มและผลึกรูปปะการังสีขาว อย่างไรก็ดี เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่มีความเปราะบาง คุณจึงควรระวังไม่ให้ชนกับผลึกแคลไซด์ภายในถ้ำขณะเดินชม เพราะอาจก่อให้เกิดความเสียหายได้ในวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2544 สมเด็จพระนางจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถได้เสด็จพระราชดำเนินทอดพระเนตร ถ้ำแม่ลาน้อย และได้พระราชทานนามถ้ำแม่ลาน้อยเป็นชื่อ “ ถ้ำแก้วโกมล “ และได้พระราชทานนามชื่อห้องในถ้ำแก้วโกมลซึ่งอยู่ภายในถ้ำเป็นชั้นๆจำนวน 5 ชั้นดังนี้ชั้นที่หนึ่ง นามห้อง พระทัยธารชั้นที่สอง นามห้อง วิมานเมฆชั้นที่สาม นามห้อง เฉกหิมพานต์ชั้นที่สี่ นามห้อง ม่านผาแก้วชั้นที่ห้า นามห้อง เพริดแพร้วมณีบุปผาช่วงเวลาในการเที่ยวชม ถ้ำแห่งนี้สามารถเที่ยวได้ตลอดปี แต่ช่วงที่ดีที่สุดคือช่วงเดือนตุลาคม-เมษายน เพราะเป็นช่วงที่น้ำในถ้ำแห้งสนิท ไม่เปียกชื้น รวมถึงไม่มีหยดน้ำจากเพดานถ้ำให้รำคาญ และเนื่องจากถ้ำแก้วเป็นโพรงถ้ำที่อยู่ลึกลงไปใต้ดิน อากาศถ่ายเทไม่สะดวก นักท่องเที่ยวที่มีสุขภาพไม่ค่อยแข็งแรงหรือมีโรคประจำตัวจึงไม่ควรเข้าไปในถ้ำ หรือหากต้องการเข้าไปชมภายในถ้ำควรแจ้งเจ้าหน้าที่ที่พาชมก่อนเพื่อความปลอดภัย ปัจจุบันวนอุทยานแม่ลาน้อยได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ วนอุทยานถ้ำแก้วโกมล” ได้รับการพัฒนา ปรับปรุงและอยู่ในความดูแลของสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
การเดินทาง จากถนนใหญ่ทางหลวงหมายเลข 108 ให้คุณเลี้ยวไปตามถนน รพช. ทางไปบ้านทุ่งสารภีข้างโรงพยาบาลแม่ลาน้อย ขับไปตามป้ายบอกทางขึ้นเขาไปเรื่อยๆ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร 

ค่าเข้าชม
ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท เปิดให้เข้าชมทุกวันตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. เข้าชมรอบละไม่เกิน 20 คน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ วนอุทยานแก้วโกมล โทร.01 961 8848 หรือ ศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยว จังหวัดแม่ฮ่องสอน โทร. 0 5361 2982 และ 0 5361 2983



ทางเข้าถ้ำแก้วโกมล




ห้องที่1 ห้องพระทัยธาร




ห้องที่ 2 ห้องวิมานเมฆ


ห้องที่ 3 ห้องเฉกหิมพานต์


ห้องที่ 4 ห้องม่านผาแก้ว

ห้องที่ 5 ห้องเพริศแพร้วมณีบุปผา